คู่มือการเข้าร่วม
อ่านหนังสือให้ผู้พิการทางสายตา
เงื่อนไข
Volunteer Hour:
The time to complete reading a book for the blind may vary depending on the length of the book and the reading speed of the volunteer, but on average it takes around 10-20 hours to complete one book.
Conditions:
Short Book (10-15 hours): For books with a length of less than 100 pages, it would take around 10-15 hours to complete reading the book.
Medium Book (15-20 hours): For books with a length of 100-200 pages, it would take around 15-20 hours to complete reading the book.
Long Book (20+ hours): For books with a length of more than 200 pages, it would take around 20+ hours to complete reading the book.
Note: These hours are estimates and may vary based on individual reading speed and the complexity of the book. In addition, volunteers who can provide high-quality audio recordings may receive up to 1-5 hours of extra volunteer hours.
ขณะเข้าร่วมกิจกรรม
ขณะเข้าร่วมกิจกรรม โปรดถ่ายภาพขณะเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 3 ภาพ ได้แก่ ภาพการจัดทำ ภาพของปกหนังสือที่เข้าร่วม และภาพการจัดส่งผลงาน
คู่มือ/วิธีเข้าร่วม
ตัวอย่างหนังสือเสียง
ขั้นตอนที่ 1 : เตรียมความพร้อมในการอ่าน
เริ่มต้นผู้เข้าร่วมทุกท่านต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ก่อนเริ่มทำการอัดเสียง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
เตรียมอุปกรณ์บันทึกเสียงให้พร้อม เช่น เครื่องบันทึกเสียง ไมโครโฟนหรือโทรศัพท์มือถือ
เตรียมสถานที่ ในการอัดเสียงนั้นผู้เข้าร่วมต้องอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงรบกวนน้อยที่สุด เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาได้ยินเนื้อหาอย่างครบถ้วย
เลือกหนังสือที่ต้องการอ่าน อาจเป็นหนังสือความรู้ หนังสือนวนิยายหรรือหนังสืออื่น ๆ ที่ผู้เข้าร่วมสนใจ
ขั้นตอนที่ 2 : เริ่มต้นการบันทึกเสียงและการเตรียมไฟล์เสียง
ในขั้นตอนนี้ผู้เข้าร่วมต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกเสียงนั้นกำลังทำงานอยู่ และอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงรบกวนน้อย หากพร้อมแล้วสามารถเริ่มการบันทึกหนังสือเสียงได้เลย
อ่านให้ถูกต้องตามอักขระ มีความชัดเจน และ ถูกต้องตามหลักการอ่าน กรณีอ่านหนังสือนวนิยาย หรือเรื่องสั้น ควรอ่านให้ได้น้ำเสียงตามอารมณ์ของเนื้อหาที่อ่าน เพื่อให้ผู้ฟังได้อรรถรสมากขึ้น
อ่านเนื้อหาให้ครบทุกตัวหนังสือ
กรณีเป็นตัวย่อ ให้อ่านคำเต็ม อนุโลมให้อ่านตัวย่อได้ในคำที่ใช้กันจนเคยชิน เช่น พ.ศ. กกต. ส.ส. เป็นต้น
ในการอ่านต้องอ่านเครื่องหมายต่างๆเช่นเดียวกัน
เครื่องหมาย ฯลฯ (ไปยาลใหญ่) ให้อ่านเป็น และ อื่นๆ
เครื่องหมาย ฯ (ไปยาลเล็ก) ให้อ่านคำเต็ม เช่น กรุงเทพฯ อ่านว่า กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
เครื่องหมาย ... ให้อ่านเป็น ละละละ เช่น มะกรูด มะนาว ... (ละละละ)
เครื่องหมาย "-" (อัญประกาศ) ให้อ่านเป็น เครื่องหมายคำพูดเปิด/เครื่องหมายคำพูดปิด กรณีอ่านนวนิยาย เรื่องสั้น สามารถอ่านประโยคใรเครื่องหมายคำพูดได้เลย แต่เปลี่ยนน้ำเสียงเล็กน้อยเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่าง
เครื่องหมาย (-) (วงเล็บ) อ่านว่า ในวงเล็บ หรือ วงเล็บเปิด....วงเล็บปิด
เครื่องหมาย ? ! : ; . , ไม่ต้องอ่าน หรืออ่านชื่อเครื่องหมายดังกล่าว
อ่านให้จบเล่ม เพื่อให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์
สามารถแยกแยกเป็นทีละบทได้
ใช้น้ำเสียงที่ฟังง่าย เรียบง่าย และเข้าถึงอารมณ์
หากอ่านผิด กรุณาแก้ไขไฟล์ให้เป็นไฟล์ฉบับสมบูรณ์ (ไม่ควรมีเสียงอ่านผิดระหว่างทาง)
บันทึกไฟล์เป็นไฟล์ .mp4 ตั้งชื่อไฟล์เสียง เป็นชื่อหนังสือที่อ่าน (หากแยกเป็นบท ให้ระบุบทที่อ่าน)
หลังเข้าร่วมกิจกรรม
ให้ดำเนินการตามขั้นตอนข้างล่าง เป็นลำดับ